ประวัติความเป็นมาของเชียงของ
เมืองลุ่มแม่น้ำโขง…ที่เติบโตขึ้นในฐานะชุมชนเล็กๆ ชุมชนหนึ่ง บางช่วงอยู่ในสถานะเมืองอิสระ ปกครองตัวเอง แต่บางช่วงเวลาอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาต่างๆ เช่น โยนก สมัยหิรัญนครเงินยาง นครนันทบุรี (น่าน) รวมทั้งภายใต้การปกครองของพม่า และกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งเป็นหัวเมืองบริเวณของสยาม
ประเทศในยุคล่าอาณานิคม ของประเทศตะวันตก เชียงของถูกกำหนดให้เป็น “ดินแดนส่วนกลาง” ระหว่างสยามประเทศกับฝรั่งเศส ที่ต้องการยึดครองดินแดนลุ่มแม่น้ำโขง ณ เวลาหนึ่ง ต้องผจญกับการถูกรุกราน และถูกยึดเมืองโดยกลุ่มเงี้ยว ก่อนที่จะหวนกลับมาเป็นหัวเมืองหนึ่งของมณฑลพายัพ และก้าวเข้าสู่การเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย
ในเวลาต่อมา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นต้องการสร้างวงศ์ไพบูลย์มหาเอเชียบูรพา ได้ขอผ่านประเทศไทยไปยึดครองประเทศพม่า เชียงของเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ญี่ปุ่น ได้เข้ามาตั้งฐานกำลังสนับสนุนการทำ สงคราม ครั้นยุคสงครามเย็น เชียงของถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่สีชมพู ซึ่งหมายถึงจุดของการต่อสู้เพื่อแย่งชิงประชากร ระหว่างลัทธิสังคมนิยม กับโลกเสรี (ประชาธิปไตย) แต่เมื่อสถานการณ์ต่างๆ คลี่คลาย เชียงของได้รับการพัฒนามาตามลำดับ ในฐานะอำเภอหน้าด่านของจังหวัดเชียงราย มีการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน (ลาว) และจีนตอนใต้ ระยะเวลากว่า 10 กว่าปีที่ผ่านมา เชียงของถูกวางให้เป็นหนึ่งในแผนพัฒนาสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ เพื่อเชื่อมโยงการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และเป็นประตูสู่อินโดจีน
มีบทบันทึกในหนังสือพื้นบ้านตั้งแต่สมัยพุทธกาลว่า ครั้งหนึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เคยเสด็จมาโปรดเวไนยสัตว์ และทรงเทศนาสั่งสอนชาวป่า ทางตะวันตกของแม่น้ำโขงคือ “อำเภอเชียงของ” ในปัจจุบัน ทั้งนี้ พระพุทธเจ้าทรงเทศนาโปรดเวไนยสัตว์ ณ เมืองเชียงของ ตำนานพื้นบ้านบันทึกไว้ว่า…
ในช่วงเวลาที่องค์สมเด็จพระพุทธเจ้า ทรงเสด็จเทศนาโปรดเวไนยสัตว์เป็นเวลา 45 ปีนั้น ครั้งหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระอานนท์ ได้เสด็จถึงดอยแห่งหนึ่งใกล้เมืองเมิง อยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ดอยแห่งนั้นมีซอกเขาสลับซับซ้อน วิจิตรงดงาม มีถ้ำที่พระองค์ได้ประทับรอยพระบาทเบื้องขวาไว้บนก้อนหินก้อนหนึ่ง ใกล้กับหินใหญ่ที่ชะโงกเงื้อมคล้ายกระท่อม อยู่ทางด้านขวาติดกับปากถ้ำ หันมาทางทิศตะวันออก (ปัจจุบันมีรอยพระบาทปรากฏอยู่บนก้อนหินนั้น) แล้วพระองค์ได้เสด็จข้ามแม่น้ำโขงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มายังบ้านแห่งหนึ่ง
คือบ้านของตำมิละ ตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำโขง พระองค์ได้เสด็จลงสรงน้ำ บนก้อนหินก้อนหนึ่งมีรูปคล้ายช้าง ตั้งอยู่กลางลำน้ำโขง พระองค์ได้ประทับบริเวณใต้ต้นขนุนเป็นระยะเวลาหนึ่ง ได้ทรงเทศนาสั่งสอนชาวบ้านในหมู่บ้านแห่งนี้ให้ถือศีล 5 แทนการเลี้ยงผี ก่อนพระองค์จากไปด้วยความอาลัย ตำมิละหัวหน้าบ้านจึงเอ่ยขอสิ่งหนึ่งจากพระองค์ไว้เพื่อระลึกถึง ในเวลานั้นพระองค์ประทับหันพระพักตร์ไปทางตะวันตก พระองค์จึงเอาพระหัตถ์ขวาลูปพระเศียร ได้พระเกศามาสองเส้นเอายื่นให้แก่ตำมิ ละ โดยพระหัตถ์ของพระองค์เอง แล้วบอกแก่ตำมิละว่า…
“ผมเราสองเส้นนี้ให้บรรจุไว้ทางซ้ายมืออยู่เดี๋ยวนี้ เมื่อก่อนจะบรรจุเส้นผมเราสองเส้นนี้ ให้ท่านวัดตั้งแต่ที่เราอยู่เดี๋ยวนี้ทั้งสองข้างซ้าย ขวา ให้มีระยะเท่ากัน”
ภายหลังหัวหน้าบ้าน ได้นำเส้นพระเกศาบรรจุผอบทองคำหนัก 5 บาท ผอบละหนึ่งเส้น ใส่ไว้ในเรือทองคำหนัก 25 บาท ลำละ 1 ผอบ แล้ววัดระยะจากที่พระพุทธเจ้าเคยประทับออกไปในทางซ้าย-ขวา ในระยะที่เท่ากัน ขุดหลุมลึก 9 วา เอาเรือที่บรรจุผอบวางไว้ในหลุมทั้งสองข้าง ข้างละหนึ่งลำ เอาเรือลอยไว้ในหลุมดิน แล้วก่ออิฐทับขึ้นจนพ้นผิวดินไม่ใหญ่ไม่สูง เป็นเพียงเครื่องหมายให้รู้ไว้เท่านั้น ซึ่งก็คือบริเวณพระเจดีย์วัดหลวง ซึ่งอยู่ฝั่งซ้ายมือ และพระเจดีย์วัดแก้วซึ่งอยู่ฝั่งขวา เช่นที่ปรากฎในปัจจุบัน จากนั้นหัวหน้าบ้านตำมิละได้ว่าจ้างผู้รู้หนังสือ มาสลักหินไว้สองแผ่นมีความ กว้าง 1 ศอก ยาว 2 ศอก โดยสลักเป็นอักษรขอมโบราณเต็มแผ่นศิลา ในศิลาจากรึกได้กล่าวถึงพระพุทธเจ้า ได้ประทับรอยพระบาทที่แขวงเมืองเมิง ของอินโดจีน ฝรั่งเศส พร้อมทั้งบอกตำแหน่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับใต้ต้นขนุน
บนศิลาจารึกนั้นยังได้ทำผู้ที่จะมาสร้างพระเจดีย์ทั้งสองแห่งคือ “พระยาไชยราช” อีกทั้งจารึกข้อความไว้เกี่ยวกับความรุ่งเรือง ของพระศาสนา และเมืองเชียงของ ในอนาคต แล้วหัวหน้าบ้านได้นำศิลาจารึกทั้ง 2 แผ่นฝังไว้เป็นใบเสมา ณ ที่ฝังผอบบรรจุพระเกศาทั้งสองแห่งซ้าย-ขวา
*** หมายเหตุ : สำหรับแผ่นศิลาที่หนังสือพื้นเมืองได้กล่าวอ้างนี้ “เจ้าหนานบุษรศ” ผู้เรียบเรียงประวัติศาสตร์การสร้างเมืองเชียงของ ได้บันทึกไว้ว่า ศิลาจารึกทั้ง 2 แผ่น ได้ถูกนักท่องเที่ยวชาวอเมริกันนำออกไป เมื่อ ร.ศ.124 หรือ พ.ศ. 2449 โดยนักท่องเที่ยวผู้นั้นสามารถอ่านอักษรขอมโบราณได้ จึงได้นำปืนไรเฟิลชนิด 3 ลำกล้อง สำหรับยิงสัตว์มาแลกจากเจ้าราชวงศ์ “บุณรังษี” ซึ่งเป็นน้องเขยของเจ้าจิตตวงษ์ เจ้าเมืองเชียงของในเวลานั้น แล้วนำศิลาทั้งสองแผ่นลงเรือถ่อขนาดใหญ่ในลำน้ำโขงสมัยนั้น มุ่งหน้าไปทางเมืองเชียงแสน
ที่มา : ประวัติการสร้างเมืองเชียงของ ขุนภูนพิเลขกิจ (เจ้าหนานบุษรศ จิตตางกูร) พ.ศ. 2548
http://chiangrai.kapook.com/chiangkhong-2/
http://www.chiangkhong.com
ประเทศในยุคล่าอาณานิคม ของประเทศตะวันตก เชียงของถูกกำหนดให้เป็น “ดินแดนส่วนกลาง” ระหว่างสยามประเทศกับฝรั่งเศส ที่ต้องการยึดครองดินแดนลุ่มแม่น้ำโขง ณ เวลาหนึ่ง ต้องผจญกับการถูกรุกราน และถูกยึดเมืองโดยกลุ่มเงี้ยว ก่อนที่จะหวนกลับมาเป็นหัวเมืองหนึ่งของมณฑลพายัพ และก้าวเข้าสู่การเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย
ในเวลาต่อมา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นต้องการสร้างวงศ์ไพบูลย์มหาเอเชียบูรพา ได้ขอผ่านประเทศไทยไปยึดครองประเทศพม่า เชียงของเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ญี่ปุ่น ได้เข้ามาตั้งฐานกำลังสนับสนุนการทำ สงคราม ครั้นยุคสงครามเย็น เชียงของถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่สีชมพู ซึ่งหมายถึงจุดของการต่อสู้เพื่อแย่งชิงประชากร ระหว่างลัทธิสังคมนิยม กับโลกเสรี (ประชาธิปไตย) แต่เมื่อสถานการณ์ต่างๆ คลี่คลาย เชียงของได้รับการพัฒนามาตามลำดับ ในฐานะอำเภอหน้าด่านของจังหวัดเชียงราย มีการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน (ลาว) และจีนตอนใต้ ระยะเวลากว่า 10 กว่าปีที่ผ่านมา เชียงของถูกวางให้เป็นหนึ่งในแผนพัฒนาสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ เพื่อเชื่อมโยงการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และเป็นประตูสู่อินโดจีน
มีบทบันทึกในหนังสือพื้นบ้านตั้งแต่สมัยพุทธกาลว่า ครั้งหนึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เคยเสด็จมาโปรดเวไนยสัตว์ และทรงเทศนาสั่งสอนชาวป่า ทางตะวันตกของแม่น้ำโขงคือ “อำเภอเชียงของ” ในปัจจุบัน ทั้งนี้ พระพุทธเจ้าทรงเทศนาโปรดเวไนยสัตว์ ณ เมืองเชียงของ ตำนานพื้นบ้านบันทึกไว้ว่า…
ในช่วงเวลาที่องค์สมเด็จพระพุทธเจ้า ทรงเสด็จเทศนาโปรดเวไนยสัตว์เป็นเวลา 45 ปีนั้น ครั้งหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระอานนท์ ได้เสด็จถึงดอยแห่งหนึ่งใกล้เมืองเมิง อยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ดอยแห่งนั้นมีซอกเขาสลับซับซ้อน วิจิตรงดงาม มีถ้ำที่พระองค์ได้ประทับรอยพระบาทเบื้องขวาไว้บนก้อนหินก้อนหนึ่ง ใกล้กับหินใหญ่ที่ชะโงกเงื้อมคล้ายกระท่อม อยู่ทางด้านขวาติดกับปากถ้ำ หันมาทางทิศตะวันออก (ปัจจุบันมีรอยพระบาทปรากฏอยู่บนก้อนหินนั้น) แล้วพระองค์ได้เสด็จข้ามแม่น้ำโขงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มายังบ้านแห่งหนึ่ง
คือบ้านของตำมิละ ตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำโขง พระองค์ได้เสด็จลงสรงน้ำ บนก้อนหินก้อนหนึ่งมีรูปคล้ายช้าง ตั้งอยู่กลางลำน้ำโขง พระองค์ได้ประทับบริเวณใต้ต้นขนุนเป็นระยะเวลาหนึ่ง ได้ทรงเทศนาสั่งสอนชาวบ้านในหมู่บ้านแห่งนี้ให้ถือศีล 5 แทนการเลี้ยงผี ก่อนพระองค์จากไปด้วยความอาลัย ตำมิละหัวหน้าบ้านจึงเอ่ยขอสิ่งหนึ่งจากพระองค์ไว้เพื่อระลึกถึง ในเวลานั้นพระองค์ประทับหันพระพักตร์ไปทางตะวันตก พระองค์จึงเอาพระหัตถ์ขวาลูปพระเศียร ได้พระเกศามาสองเส้นเอายื่นให้แก่ตำมิ ละ โดยพระหัตถ์ของพระองค์เอง แล้วบอกแก่ตำมิละว่า…
“ผมเราสองเส้นนี้ให้บรรจุไว้ทางซ้ายมืออยู่เดี๋ยวนี้ เมื่อก่อนจะบรรจุเส้นผมเราสองเส้นนี้ ให้ท่านวัดตั้งแต่ที่เราอยู่เดี๋ยวนี้ทั้งสองข้างซ้าย ขวา ให้มีระยะเท่ากัน”
ภายหลังหัวหน้าบ้าน ได้นำเส้นพระเกศาบรรจุผอบทองคำหนัก 5 บาท ผอบละหนึ่งเส้น ใส่ไว้ในเรือทองคำหนัก 25 บาท ลำละ 1 ผอบ แล้ววัดระยะจากที่พระพุทธเจ้าเคยประทับออกไปในทางซ้าย-ขวา ในระยะที่เท่ากัน ขุดหลุมลึก 9 วา เอาเรือที่บรรจุผอบวางไว้ในหลุมทั้งสองข้าง ข้างละหนึ่งลำ เอาเรือลอยไว้ในหลุมดิน แล้วก่ออิฐทับขึ้นจนพ้นผิวดินไม่ใหญ่ไม่สูง เป็นเพียงเครื่องหมายให้รู้ไว้เท่านั้น ซึ่งก็คือบริเวณพระเจดีย์วัดหลวง ซึ่งอยู่ฝั่งซ้ายมือ และพระเจดีย์วัดแก้วซึ่งอยู่ฝั่งขวา เช่นที่ปรากฎในปัจจุบัน จากนั้นหัวหน้าบ้านตำมิละได้ว่าจ้างผู้รู้หนังสือ มาสลักหินไว้สองแผ่นมีความ กว้าง 1 ศอก ยาว 2 ศอก โดยสลักเป็นอักษรขอมโบราณเต็มแผ่นศิลา ในศิลาจากรึกได้กล่าวถึงพระพุทธเจ้า ได้ประทับรอยพระบาทที่แขวงเมืองเมิง ของอินโดจีน ฝรั่งเศส พร้อมทั้งบอกตำแหน่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับใต้ต้นขนุน
บนศิลาจารึกนั้นยังได้ทำผู้ที่จะมาสร้างพระเจดีย์ทั้งสองแห่งคือ “พระยาไชยราช” อีกทั้งจารึกข้อความไว้เกี่ยวกับความรุ่งเรือง ของพระศาสนา และเมืองเชียงของ ในอนาคต แล้วหัวหน้าบ้านได้นำศิลาจารึกทั้ง 2 แผ่นฝังไว้เป็นใบเสมา ณ ที่ฝังผอบบรรจุพระเกศาทั้งสองแห่งซ้าย-ขวา
*** หมายเหตุ : สำหรับแผ่นศิลาที่หนังสือพื้นเมืองได้กล่าวอ้างนี้ “เจ้าหนานบุษรศ” ผู้เรียบเรียงประวัติศาสตร์การสร้างเมืองเชียงของ ได้บันทึกไว้ว่า ศิลาจารึกทั้ง 2 แผ่น ได้ถูกนักท่องเที่ยวชาวอเมริกันนำออกไป เมื่อ ร.ศ.124 หรือ พ.ศ. 2449 โดยนักท่องเที่ยวผู้นั้นสามารถอ่านอักษรขอมโบราณได้ จึงได้นำปืนไรเฟิลชนิด 3 ลำกล้อง สำหรับยิงสัตว์มาแลกจากเจ้าราชวงศ์ “บุณรังษี” ซึ่งเป็นน้องเขยของเจ้าจิตตวงษ์ เจ้าเมืองเชียงของในเวลานั้น แล้วนำศิลาทั้งสองแผ่นลงเรือถ่อขนาดใหญ่ในลำน้ำโขงสมัยนั้น มุ่งหน้าไปทางเมืองเชียงแสน
ที่มา : ประวัติการสร้างเมืองเชียงของ ขุนภูนพิเลขกิจ (เจ้าหนานบุษรศ จิตตางกูร) พ.ศ. 2548
http://chiangrai.kapook.com/chiangkhong-2/
http://www.chiangkhong.com