วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

๐ อารยธรรมลุ่มน้ำโขง

อารยธรรมลุ่มน้ำโขง


ภาพถ่าย140ปี สุดคลาสสิค อารยธรรมลุ่มน้ำโขง



ภาพถ่ายจากนิทรรศการ งานพิธีสืบชะตาแม่น้ำโขง บ้านผาถ่าน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ที่จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ภาพที่มีอายุกว่า 140 ปี มีภาพถ่าย ลายเส้นเขียน ชุด อารยธรรมลุ่มน้ำโขง ที่ถ่ายทอดให้เห็นถึง ธรรมชาติในยุคสมัยนั้น สายน้ำไหลผ่านโตรกผาและช่องเขา วิถีชีวิตของผู้คน การแต่งกาย ล่องเรือหาปลา ฯลฯ ภาพถ่ายลายเส้นเขียนชุดนี้นับว่ามีคุณค่าและคลาสสิกอย่างมาก



ภาพถ่ายชุดนี้ ได้มาจากสูจิบัตรของฝรั่งเศส ในการจัดนิทรรศการรวบรวมภาพเก่าของลุ่มน้ำ โขงทั้ง หมด ที่มีการกระจายอยู่ตามประเทศต่างๆ ของผู้ที่เคยเดินทางเข้าในดินแดนลุ่มน้ำโขงแล้วทำการบันทึกภาพไว้ ตั้งแต่ทิเบตลงมาถึงจีนตอนใต้ พม่า ลาว ไทย เขมร และเวียดนาม ซึ่งภาพชุดนี้บันทึกไว้มีตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ.1866 - 1937 หรือร่วมๆ 140 ปีประมาณนั้น ส่วนทางพิพิธภัณฑ์ฯ ทำเรื่องขอคัดสำเนามาเพื่อจัดทำนิทรรศการเผย แพร่ในเมืองไทย ซึ่งภาพเหล่านี้สามารถเผยแพร่ได้เพราะอายุเกินจากลิขสิทธิ์

พิธีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึก


พิธีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึก

ช่วงเวลา พิธีบวงสรวงจะกระทำก่อนการลงมือจับปลาบึกที่อำเภอเชียงของ จะเริ่มจับปลาบึกตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนจนถึงปลายเดือนพฤษภาคม ของทุกปีซึ่งเป็นช่วงที่ปลาบึกกำลังผสมพันธุ์ และว่ายทวนน้ำขึ้นไปวางไข่ที่ทางต้นน้ำในประเทศจีน
พิธีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึก
ความสำคัญ
พิธีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึกเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยเชื่อว่าปลาบึกเป็นปลาที่มีเทพคอยคุ้มครองอยู่ ถ้าไม่มีการบวงสรวงไหว้วอนขอจากเจ้าพ่อของเขา และไม่ปลุกขวัญแม่ย่านางเรือให้มีอานุภาพแกร่งกล้าผู้นั้นก็ยากที่จะจับปลาบึกได้สำเร็จ ดังนั้นบรรดาชาวประมงหรือพรานล่าปลาบึกบ้านหาดไคร้ ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จึงได้มีพิธีบวงสรวงกันทุกปี จนกลายเป็นประเพณีพื้นบ้านของท้องถิ่นพิธีกรรม
พิธีบวงสรวงจะกระทำบริเวณชายหาดริมแม่น้ำโขง โดยมีศาลเพียงตาและมีรั้วรอบทั้งสี่ด้าน ที่มุมรั้วทั้ง๔ จะผูกต้นกล้วย ต้นอ้อยไว้ ส่วนบนศาลเพียงตาจะมีเครื่องเซ่นบวงสรวงประกอบด้วย ดอกไม้ ธูปเทียน สุราอาหารและผลไม้ สมัยก่อนเครื่องเซ่นสังเวยบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึกและแม่ย่านางเรือมีเพียง ดอกไม้ ธูปเทียนและไก่เป็นๆ โดยจับขาไก่สองข้างให้แน่นและฟาดลำตัวลงบนหัวเรือให้ตายทั้งเป็น เพื่อให้เลือดกระเซ็นรอบๆเรือและเครื่องมือที่ใช้ดักจับปลาบึก จากนั้นก็ขออาหารที่เหลือมาแบ่งกันกิน เป็นอันเสร็จพิธีสาระ
การทำพิธีบวงสรวงก่อนการจับปลาบึกเป็นการสร้างกำลังใจ ความเป็นสิริมงคล และโชคลาภแก่ชาวประมง ตลอดจนเป็นการรักษาไว้ซึ่งประเพณีที่เคยปฏิบัติสืบกันมาทุกปี